GRA-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GRA-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย วันที่ออก{{beginningWith}}
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 48
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานของครูกลุ่มโรงเรียนในเครือไทย-เทค(2554) กอบแก้ว จันทาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค่ำจุน และพฤติกรรมการทำงานของครู รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค่ำจุนรายการ คุณลักษณะบางประการและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1(2554) กรชวัล หุนตระณีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำการตัดสินใจและเทคนิคการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษารายการ การวางแผนการใช้งานระบบปรับอากาศสำหรับห้องบรรยายของมหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี กรณีศึกษา : อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์(2555) ธิติวัฒน์ ศรุติรัตน์วรากุลการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้าระหว่างการกำหนดบรรยายเป็นห้องควบคุม ซึ่งจะมีการใช้งานระบบปรับอากาศตามปกติและกำหนดเป็นห้องทดลองรายการ การศึกษาคุณภาพการบริการด้านโลจิสติกส์กับคุณภาพความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยบุคคลที่ 3 ด้านการขนส่ง กรณีศึกษา ผู้ส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย(Larngear Technology university, 2555) พัชชา วงศ์สวรรค์การศึกษาคุณภาพการบริการด้านโลจิสติกส์กับคุณภาพความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยบุคคลที่ 3 ด้านการขนส่ง กรณีศึกษา ผู้ส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาอิทธิพลของคุณภาพการบริการด้านโลจิสติกส์ กับคุณภาพความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยบุคคลที่ 3 ด้านการขนส่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยรายการ ความสัมพันธ์ของกิจกรรมแนวคิดลีนและปัจจัยความสำเร็จ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์(Larngear Technology university, 2556-06-15) อรอุมา แฝดกลางการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของกิจกรรมแนวคิดลีนและปัจจัยความสำเร็จ : กรณีศึกษา อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดลีนและกิจกรรมของแนวคิดลีน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการประยุกต์ใช้แนวคิดลีนในอุตสาหกรรมยานยนต์ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแนวคิดลีนและปัจจัยความสำเร็จในอุตสาหกรรมยานยนต์รายการ การศึกษาเหตุผลจูงใจและความคาดหวังของผุ้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2557) ศุภฤกษ์ ศรีชะฎาการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาเหตุจูงใจและความคาดหวังของผู้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือ ไทย-เทค และเพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการในการส่งเสริมให้ผู้ปกครองส่งนักเรียนเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือ ไทย-เทค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในเครือ ไทย-เทค ปีการศึกษา 2558 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ดปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายการ ตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ e-Learning สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน เครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2557) รังษิณี คอทองการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ e-Learning และ 2) เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ e-Learning ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเครือ ไทย-เทค ประชากรของการศึกษา คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเครือ ไทย-เทค ปีการศึกษา 2558 กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกแบบมีระบบจำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ข้อมูลถูกวิเคราะห์และนำเสนอด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นต้นรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพและการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1(มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2558) สุประวีณ์ ทิพย์โพธิ์การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพกับการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานวิชาการ และหัวหน้างานประกันคุณภาพหรือครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 67 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม 2 แบบ ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิด และแบบสอบถามปลายเปิด แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันรายการ ผลของความรู้และเจตคติของบุคลากรที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2558) นงลักษณ์ ตระกูลวงศ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร (2) เพื่อศึกษาความรู้และเจตคติของบุคลากรเกี่ยวกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา และ (3) เพื่อศึกษาความรู้และเจตคติของบุคลากรเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค การวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลจากประชากร (Census) คือ ผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค ปีการศึกษา 2558 จำนวน 298 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Regression Analysis)รายการ การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของบทบาทผู้บริหารโรงเรียนนำร่องตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2558) สะนิ แกละมงคลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ (1) เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารโรงเรียนนำร่องตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของผู้บริหารโรงเรียนนำร่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 145 คน จาก 29 โรงเรียน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตัวเอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์แสดงความต้องการจำเป้นโดยใช้ Priority Needs Index (PNI) การวิเคราะหืข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหารายการ การศึกษาการบริหารงานวิชาการที่มุ่งเน้นคุณภาพของโรงเรียนประชานิเวศน์(มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2558) นงค์นุช วงศ์เหง้าการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการที่มุ่งเน้นคุณภาพของโรงเรียนประชานิเวศน์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test –ONET) ผ่านทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 มีจำนวนหนึ่งโรงเรียน คือ โรงเรียนประชานิเวศน์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการวิจัยใช้รูปแบบการศึกษาเฉพาะกรณี (Case study method) โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structural Interviewing Guidelines) ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย รวมทั้งสิ้น 7 คน คือ ผู้บริหารโรงเรียน รองผู้บริหารฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายรายการ ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงาน บรรยากาศองค์การ และความผูกพันต่อองค์การ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากรในบริษัท เมืองโบราณ จำกัด(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2560) ธีรวีร์ รุจพงษ์จันทร์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อายุงาน สถานภาพสมรส รายได้ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน ที่ส่งผลการต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรบริษัท เมืองโบราณ จำกัด 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงาน บรรยากาศองค์การ และความผูกพันต่อองค์การ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากร บริษัท เมืองโบราณ จำกัด ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่บุคลากรของบริษัท เมืองโบราณ จำกัด จำนวน 677 คน คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 251 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน t- test , F-test และสมการถดถอยชนิดตัวแปรหลายตัว ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อายุงาน สถานภาพ รายได้ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงานไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากร บริษัท เมืองโบราณ จำกัด 2) ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงาน บรรยากาศองค์การ และความผูกพันต่อองค์การ ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากร บริษัท เมืองโบราณ จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 The objectives of this research were 1) to investigate the personal characteristics affecting organizational citizenship behavior of the employees in Ancient City company limited 2) to investigate the quality of work life, organizational climate and organizational commitment affecting organizational citizenship behavior of the employees in Ancient City company limited. The populations were 677 employees from operation to executive level. The samples were 251 employees using Yamane the calculation of the 95 percent confidence level. Statistics for data analysis were percentage, frequency, mean, standard division, independent sample t-test, F-test, and multiple regression analysis. The research results revealed that 1) The personal characteristics including gender, age, years of employment, marriage status, income, educational level, and job position has no different influence on organizational citizenship behavior of the employees in Ancient City company limited at the 0.05 level. 2) The quality of work life, organizational climate, and organizational commitment significantly influence on the organizational citizenship behavior of the employees in Ancient City company limited at the level of 0.05.รายการ สภาพปัจจุบันและความต้องการฝึกอบรมของข้าราชการประเภทวิชาการ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีภายใต้บริบทของประชาคมอาเซียน(หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2560) อัชณัฐ หมวกน่วมการวิจัยเรื่อง สภาพปัจจุบันและความต้องการฝึกอบรมของข้าราชการประเภทวิชาการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี : ภายใต้บริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาลักษณะการฝึกอบรมของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2. เปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและความต้องการฝึกอบรมของข้าราชการประเภทวิชาการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 3. เปรียบเทียบความต้องการฝึกอบรมของข้าราชการประเภทวิชาการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4. เสนอแนวทางการฝึกอบรมให้กับข้าราชการประเภทวิชาการของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้เชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับชำนาญการ ระดับปฏิบัติการ จำนวน 127 รายรายการ ความสัมพันธ์ของการบริหารคุณภาพโดยองค์รวมกับการจัดการภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานในศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร(หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2560) สุพัตรา คงแจงการวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาการจัดการภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยราชการในศูนย์ราชการ จังหวัดชุมพร 2.ศึกษาการบริหารคุณภาพโดยองค์รวมของหน่วยราชการในศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร 3.เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรหน่วยราชการในศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร ต่อการจัดการภาพลักษณ์ที่ดี 4.ศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารคุณภาพโดยองค์รวมกับการจัดการภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานในศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานราชการที่ทำงานในศูนย์ราชการ จ.ชุมพร จำนวน 302 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test ค่า F-test และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ในการทดสอบสมมติฐานรายการ ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลองค์การ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2560) ศรีสกุล เจริญศรีการศึกษาวิจัยเรื่อง “ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัย ธรรมาภิบาล ระดับปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ และระดับประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยธรรมาภิบาล ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ และปัจจัยประสิทธิผลองค์การ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ศึกษาปัจจัยธรรมาภิบาล และปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ร่วมกันทำนายประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรายการ วัฒนธรรมองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานธนาคารภาครัฐแห่งหนึ่ง(มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2561) กาญจนาพร พันธ์เทศการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานธนาคารภาครัฐแห่งหนึ่ง 2) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานธนาคารภาครัฐแห่งหนึ่ง 3) เพื่อศึกษาปัจจัยพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารภาครัฐแห่งหนึ่ง วิธีการวิจัยเป็นวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานธนาคารภาครัฐแห่งหนึ่ง จำนวน 2,388 คน คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 343 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน T-test, F-test และสมการถดถอยชนิดตัวแปรหลายตัว ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อัตราเงินเดือน และอายุงานไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 2) วัฒนธรรมองค์การ ด้านเอกลักษณ์ ระบบการให้รางวัลและแบบของการสื่อสารส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ คุณภาพชีวิตในการทำงาน โอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของบุคคล การบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่นและความเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 3) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ด้านพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ ความมีน้ำใจนักกีฬาและความสำนึกในหน้าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานพนักงานธนาคารภาครัฐแห่งหนึ่ง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05รายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ(มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2561) ปิยะนุช พรหมประเสริฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าระดับของคุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) ศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขององค์การของบุคลากรกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ บุคลากรกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 2,952 คนรายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์(มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2561) เบญจพร กลิ่นสีงามการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหาค่าระดับ บรรยากาศองค์การ ภาวะผู้นำค่าตอบแทน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรกรมวิชาการเกษตร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลซึ่งได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานและอัตราเงินเดือน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรกรมวิชาการเกษตร 4) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมวิชาการเกษตร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บุคลากรของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 8,500 คน คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 383 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน T-test, F-test และสมการถดถอยชนิดตัวแปรหลายตัว ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานและอัตราเงินเดือน ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 2) บรรยากาศองค์การและค่าตอบแทนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ภาวะผู้นำ ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 3) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์(มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2561) วาสนา เภอแสละการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน สถานภาพ และประสบการณ์ทำงาน 2) เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีมที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค 3) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค 4) เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน สถานภาพ และประสบการณ์ทำงาน 2) เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีมที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค 3) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค 4) เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ พนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จำนวน 2,635 คน สามารถกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 348 คนจากสูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้าและตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามเพศ ตำแหน่งงาน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) การทำงานเป็นทีม ด้านการกำหนดภารกิจและเป้าหมายของทีมงาน ด้านการสื่อสารกันอย่างเปิดเผย และด้านการกระจายความเป็นผู้นำส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) คุณภาพชีวิตในการทำงาน ด้านการพัฒนาความสามารถของพนักงาน ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านธรรมนูญในองค์กร ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ความผูกพันต่อองค์กรด้านความผูกพันด้านการคงอยู่กับองค์กร และด้านความผูกพันด้านบรรทัดฐาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์(มหาวิทยาลัยลานเกียร์เทคโนโลยี, 2561) จิตติมาภรณ์ ขำชูวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) หาค่าระดับของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ค่าตอบแทนในรูปของตัวเงิน ความก้าวหน้าในการทำงาน มนุษยสัมพันธ์ สภาพแวดล้อมในองค์การ และความผูกพันต่อองค์การ 2) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ตำแหน่ง ประเภทบุคลากร รายได้ อายุงานสถานภาพ และวุฒิการศึกษา แตกต่างกันที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 3) เพื่อศึกษาค่าตอบแทนในรูปของตัวเงิน ที่ส่งต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 4) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าในการทำงาน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 5) เพื่อศึกษามนุษยสัมพันธ์ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 6) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในองค์การ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 7) เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์การ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 294 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ค่าทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า T-test ค่า F-test และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ ตำแหน่งงาน มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ปัจจัยค่าตอบแทนในรูปของตัวเงิน ปัจจัยความก้าวหน้าในการทำงาน ปัจจัยมนุษยสัมพันธ์ ปัจจัยสภาพแวดล้อมในองค์การ และปัจจัยความผูกพันต่อองค์การมีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »